วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ทางเลือกทางรอด ปลอดหวัด2009

  1. ทำไมต้องระวังไข้หวัดใหญ่ 2009

    "ไข้หวัดใหญ่ 2009 ติดต่อง่าย เร็ว ดี เก่งมาก อาจจะเก่งกว่าไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล"

    -ไข้หวัดใหญ่ 2009 โจมตีทุกกลุ่มอายุ ไม่เฉพาะเด็กต่ำกว่า 5 ขวบ หรือคนแก่อายุมากกว่า 65 ปี หรือกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด หลอดลมอ่อนแอ ความดันเลือดสูง เบาหวาน ไตไม่ดี เป็นต้น แต่ยังติดได้ดีในเด็กโต วัยรุ่น จนถึงผู้ใหญ่ที่แข็งแรง 20-50 ปี ที่ไม่มีโรคประจำตัวด้วย

  1. จริงหรือไม่ที่ไข้หวัดใหญ่ 2009 จะเกิดโรคที่รุนแรงเฉพาะในคนที่มีโรคประจำตัว

    ไม่จริง รายงานการวิเคราะห์ไข้หวัดใหญ่ 2009 จากประเทศเม็กซิโกในช่วงหนึ่งเดือนของการระบาด พบว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของคนไข้ที่มีอาการรุนแรง ไม่มีโรคประจำตัวทั้งสิ้น และเกิดปอดบวมต้องใส่เครื่องช่วยหายใจจนถึงเสียชีวิต

  1. การรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด มีประโยชน์หรือไม่

    ไม่มีประโยชน์ใดๆ เพราะไข้หวัดใหญ่ 2009 มีอาการตั้งแต่ อาการ ไอ จาม ครั่นเนื้อ ครั่นตัว โดยไม่มีไข้ก็ได้ การเฝ้าดูสถานการณ์ต้องดูที่ผู้ป่วยที่มาด้วยไข้หวัดใหญ่จริงๆ และเริ่มมีอาการมากขึ้นจากไข้หวัดธรรมดา เช่น ปวดเมื่อยทั้งเนื้อ ทั้งตัว ไข้สูงขึ้นเรื่อยๆ หลังจาก 2-3 วัน มีอาการของระบบอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อาเจียน ท้องเสีย หรืออาการทางสมอง เช่น ซึม นอนมากขึ้น ปวดศีรษะ เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้ อาจดำเนินรุนแรงขึ้น จนมีปอดบวม หายใจไม่ได้ จนต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ และเสียชีวิต

  1. การเฝ้าดูสถานการณ์ของผู้ป่วยอาการมากขึ้นเช่นนี้มีประโยชน์อะไร

    มีประโยชน์ในการดูความเก่งกาจของไวรัสในการยกระดับ และแนวโน้มที่จะระบาดเป็นระลอกสอง เช่น ไข้หวัดใหญ่ลามโลกปี 1918 (H1 N1) ปี 1957 (H2 N2) 1968 (H3 N2) ซึ่งในระลอกสอง อาจพบความรุนแรงมากขึ้นจากอัตราเสียชีวิต 5-15% กลายเป็น 60-80% ทั้งนี้ โดยเทียบอัตราการตายในกลุ่มที่เริ่มมีอาการรุนแรง ไม่ใช่นับรวมผู้ติดเชื้อที่มีอาการเล็กน้อยเข้าไปด้วย นอกจากนั้น การติดตามจำนวนของผู้ป่วยในแต่ละวันที่มีอาการมากแม้ไม่ถึงขนาดปอดบวมหรือ ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจก็จะช่วยทำให้ประเมินสถานการณ์ได้ดีขึ้น
    ประโยชน์ ที่จะได้อีกประการหนึ่งคือการปรับตัวของโรงพยาบาลในการเตรียมพร้อมรองรับการ รักษาพยาบาลผู้ป่วย การเตรียมยา จัดสถานที่อุปกรณ์ และบุคลากรในการดูแลผู้ป่วย

  1. มาตรการที่ต้องพิจารณาในสถานการณ์ปัจจุบัน ควรเป็นอย่างไร

    สร้างความชัดเจนในประเด็นต่างๆ ที่จะสื่อถึงประชาชน ในการขอความร่วมมือ ไปจนถึงการกำหนดมาตรการภาคบังคับ
    "ต้องกันผู้มีโอกาสแพร่เชื้อ ไม่ให้มีโอกาสแพร่ไปสู่ผู้อื่น คนที่มีอาการ ไอ จาม น้ำมูกไหล หวัดแบบไหนก็ตาม ต้องใส่หน้ากากอนามัย ต้องอยู่บ้าน ในบ้านต้องจัดสัดส่วนแยกเท่าที่จะทำได้ ทุกคนในบ้านต้องใส่หน้ากาก ล้างมือแบบถูกต้องเป็นประจำ แยกถ้วยชามแก้วน้ำ ใช้ช้อนกลาง และเฝ้าดูอาการ หากอาการมากขึ้นต้องนำส่งโรงพยาบาล"
    "เมื่อหยุดงาน หยุดเรียน ปิดสถานที่มีการระบาดตามระยะเวลาที่เหมาะสมเช่น 7 วันซึ่งนับรวมระยะที่คนที่ติดเชื้อจะสามารถแพร่ให้คนอื่นได้ตั้งแต่ยังไม่ แสดงอาการจนมีอาการแล้ว (แต่ถ้ามีอาการแทรกเช่นปอดบวมระยะแพร่เชื้อก็จะนานกว่านั้น) ที่สำคัญ ต้องกำชับที่การหยุดนั้น ให้คนหยุดอยู่บ้าน ไม่ใช่ไปดูหนัง เดินช็อปปิ้ง"
    "การล้างมือ ถ้าไม่มีเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ใช้น้ำและสบู่ได้ เชื้อที่อยู่ในละอองฝอยจากการไอจามสามารถอยู่บนพื้นผิวเครื่องใช้ได้นานถึง 2 ชั่วโมง"

  1. อาการสำคัญของไข้หวัดใหญ่ 2009

    อาการมีได้ทั้ง ระบบทางเดินหายใจแบบน้อยๆ ไอ น้ำมูกไหล เจ็บคอ ไม่มีไข้ก็ได้จนถึงเหนื่อยหอบหายใจเร็ว และปอดบวม แต่อาจพบอาการแบบอื่นๆ โดยไม่มีไอหรือน้ำมูกไหล แต่ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีกล้ามเนื้ออักเสบ ปวดกระดูกร่วมกับไข้หรือมีอาการปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ความดันต่ำ หน้ามืด หรือมีแต่ อาการทางสมอง ซึม ไม่รู้ตัวก็ได้

  1. ใครที่ควรต้องตรวจหาเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009

    เนื่องจากไข้หวัดใหญ่ 2009 ในขณะนี้ส่วนใหญ่หายเองได้ จึงควรตรวจภายใน
    "ผู้มีโรคประจำตัว โรคปอด หลอดลม เบาหวาน ความดันเลือดสูง โรคไต อัมพฤกษ์ ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน ที่มีอาการทุกระดับ ไม่จำกัดความรุนแรง"
    "เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ใหญ่อายุมากกว่า 65 ปี ไม่จำกัดความรุนแรง"
    "เด็กอายุมากกว่า 5 ปี และผู้ใหญ่อายุน้อยกว่า 65 ปี เฉพาะที่มีอาการรุนแรงมากขึ้น"
    " แพทย์ พยาบาล บุคลากรทางสาธารณสุข ไม่จำกัดความรุนแรง เพราะจะเป็นตัวการแพร่เชื้อแก่ผู้ป่วยในโรงพยาบาล ในการระบาดที่เม็กซิโก พบว่าในโรงพยาบาลโรคปอดแห่งหนึ่งในเดือนแรก มีหมอ พยาบาลติดเชื้อถึง 22 ราย"
    การตรวจไม่ควรเจาะจงเฉพาะไข้หวัดใหญ่ 2009 ต้องแยกว่า ผู้ป่วยมีอาการจากแบคทีเรีย ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ไข้หวัดนกหรือไข้หวัดใหญ่ 2009 ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการให้ยา Tamiflu และประเมินสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ 2009 ลามประเทศ

  1. การปิดโรงเรียน ปิดสถานที่ทำงานที่มีคนติดเชื้อ มีประโยชน์หรือไม่

    มีประโยชน์ เนื่องจากไข้หวัดใหญ่ 2009 มีความสามารถสูงในการแพร่จาก 1 คน ไปยังอีก 2-3 คน และคนที่ได้รับเชื้อยังแพร่ให้ผู้อื่นได้ในช่วง 2-3 วันแรกที่ยังไม่แสดงอาการ ดังนั้น แม้ดูอาการปกติก็ยังสามารถถ่ายทอดเชื้อได้ เพราะฉะนั้น เมื่อปิดโรงเรียน ที่ทำงาน นักเรียน คนในที่ทำงานนั้นๆ ต้องอยู่บ้านโดยเคร่งครัด อยู่บ้านเป็นสัดส่วน อย่างน้อย 7 วัน จนแน่ใจ ไม่ใช่ใช้ช่วงเวลานั้นไปเที่ยว เพราะมีโอกาสแพร่เชื้อโดยไม่รู้ตัวสูง

  1. ยา Tamiflu จะให้บุคคลใดบ้าง

    ผู้มีอาการน้อยจนเหมือนหวัดธรรมดา เช่น ไข้ น้ำมูกไหล เจ็บคอ ไม่ต้องใช้ยา แต่ถ้าอาการรุนแรงขึ้น คือไข้สูงไม่ลด พาราเซตามอลเอาไม่อยู่ รายละเอียดในข้อ 3. จึงจำเป็นต้องได้ยา
    การให้ยาโดยไม่จำกัด นอกจากจะมีผลข้างเคียง ซึ่งมีอันตราย เช่น มีอารมณ์ผิดปกติจนถึงฆ่าตัวตาย เป็นต้น ที่สำคัญคือยังทำให้เชื้อดื้อยาเร็วขึ้น หากมีการระบาดจริง และรุนแรง จะเป็นปัญหาอย่างมาก

  1. ถ้าไม่มีเงินซื้อหน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ จะทำอย่างไร

    การใช้ผ้าเช็ดหน้า กระดาษทิชชู่ ปิดปาก จมูก เมื่อมีอาการหวัดอย่างเคร่งครัด ล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อยๆ เป็นทางออกที่ดี ไม่ต้องสิ้นเปลืองเพิ่ม ไวรัสจะถูกปล่อยออกมาพร้อมกับละอองฝอยซึ่งทั่วไปมีขนาดมากกว่า 8 ไมครอน และการปิดปากด้วยผ้าหรือกระดาษสามารถลดการแพร่ได้ระดับหนึ่ง ที่สำคัญอีกประการคือต้องพยายามละเว้นนิสัยเอามือที่ไม่ได้ล้าง และสัมผัสโต๊ะ ลูกบิดหรือเครื่องใช้ที่มีเชื้อไปป้ายตา จมูก ปาก จนทำให้ติดเชื้อได้

  1. การอยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ ปลอดภัยหรือไม่

    มีการศึกษาพบว่าถ้าเครื่องปรับอากาศมีการหมุนเวียนจากอากาศภายนอก 100% มีโอกาสติดเชื้อเพียง 1.8% ถ้าใช้อากาศภายนอก 30-70% มีโอกาสติดเชื้อสูงขึ้นเป็น 13-16%

ขอบคุณข้อมูล ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01lif06070752&sectionid=0132&day=2009-07-07

เครื่องกรองอากาศ

คุณลักษณะของเครื่องกรองอากาศ

  • เทคโนโลยีการกรอง
  • เทคโนโลยีการกำจัดกลิ่น

เทคโนโลยีการกรองอากาศ

1. การกรองแบบใช้แผ่นกรอง

2. การกรองแบบใช้ไฟฟ้าสถิต

3. การกรองแบบใช้ประจุไฟฟ้าลบ

4. การกรองแบบใช้แผ่นกรองฉาบไฟฟ้าสถิต

การกรองแบบใช้แผ่นกรอง

ข้อดี

กรองสิ่งปนเปื้อนที่มีขนาดใหญ่กว่า 0.3 ไมครอน

กรองสิ่งปนเปื้อนในระยะยาวได้อย่างดีเยี่ยม

ไม่ต้องบำรุงรักษามาก และเปลี่ยนแผ่นกรองเมื่อสกปรก

ประหยัดไฟ

ข้อเสีย

ต้องใช้แผ่นกรอง และ/หรือพัดลม (มอเตอร์) ที่มีขนาดใหญ่

ประสิทธิภาพการกรองอากาศขึ้นอยู่กับขนาดของแผ่นกรอง

การกรองแบบใช้ไฟฟ้าสถิต

ข้อดี

ถ้าเครื่องกรองสะอาด จะมีประสิทธิภาพการกรองปานกลางสูง (85 - 95 %)

ความต้านทานต่อการไหลเวียนของอากาศต่ำ

ไม่ต้องเปลี่ยนแผ่นกรอง และประหยัดไฟ

ข้อเสีย

ประสิทธิภาพจะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อมีสิ่งปนเปื้อนสะสมอยู่

ต้องบำรุงรักษามาก

แผ่นกรองฝุ่นที่สกปรกจะส่งเสียงดัง

ระบบนี้จะก่อให้เกิดโอโซน

การกรองแบบใช้ประจุไฟฟ้าลบ

ข้อดี

ประหยัดไฟมาก

ไม่ต้องเปลี่ยน หรือทำความสะอาดแผ่นกรอง

ข้อเสีย

สิ่งปนเปื้อนที่มีประจุลบ จะสะสมอยู่ตามผนังและเฟอร์นิเจอร

ก่อให้เกิดโอโซน

มีประสิทธิภาพดีเมื่อใช้กับห้องที่มีขนาดเล็ก

การกรองแบบใช้แผ่นกรองฉาบไฟฟ้าสถิต

ข้อดี

แผ่นกรองใหม่มีประสิทธิภาพการกรองปานกลางสูง (85 – 99 %)

อากาศไหลเวียนผ่านแผ่นกรองได้ดี

ไม่ต้องทำความสะอาดแผ่นกรอง

ประหยัดไฟ

ข้อเสีย

ประสิทธิภาพแผ่นกรองจะลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อมีฝุ่นสะสมอยู่มาก

เสียค่าบำรุงรักษาสูง

เทคโนโลยีการกำจัดกลิ่น

- การดูดจับโดยคาร์บอนกัมมันต์

- เครื่องผลิตโอโซน

การดูดจับโดยคาร์บอนกัมมันต์

ข้อดี

ขจัดกลิ่นที่มักพบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แผ่นกรองมอายุการใช้งานที่ยาวนาน

ไม่ต้องบำรุงรักษาใดๆ นอกจากการเปลี่ยนแผ่นกรอง เมื่อหมดอายุ

ข้อเสีย

ประสิทธิภาพการทำงานลดลง เมื่อมีความชื้นเพิ่มขึ้น

ต้องใช้คาร์บอนปริมาณมาก เพื่อให้สามารถขจัดกลิ่นได้เป็นเวลายาวนาน

เครื่องผลิตโอโซน

ข้อดี

ไม่ต้องเปลี่ยนแผ่นกรอง

เครื่องขนาดเล็ก

มีประสิทธิภาพดีในห้องขนาดใหญ่ที่มีกลิ่นต่างๆ ปะปนกัน เมื่อโอโซนมีความเข้มข้นสูง

ข้อเสีย

โอโซนก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อสิ่งมีชีวิตและเยื่อบุต่างๆ

ในกรณีที่ขจัดกลิ่นเพียงเล็กน้อย ทำให้มีโอโซนหลงเหลือในอากาศจำนวนมาก

*** ต้องการทราบระบบกรองอากาศเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ คุณพิเชษฐ์ pichet699@gmail.com ***


เครื่องฟอกอากาศ

คำถามที่มักสงสัยกันมากเกี่ยวกับเครื่องฟอกอากาศ คือ เรื่องประสิทธิภาพในการใช้ป้องกันไรฝุ่น เนื่องจากในปัจจุบันมีการเรียกชื่ออุปกรณ์ที่กำจัดมลพิษในอากาศแตกต่างกันไป ตามผลการทำงานของเครื่อง เช่น ถ้าเป็นการทำให้อากาศสะอาดจะเรียกว่า เครื่องฟอกอากาศ /air cleaner หรือทำให้อากาศบริสุทธิ์ปราศจากมลพิษที่อาจเป็นอนุภาคเล็กๆ (particulate matter), ฝุ่น, ละอองเกสร, สารก่อภูมิแพ้, ควัน ก๊าซรวมทั้งกลิ่น เรียกว่า air purifier หรือทำงานโดยการกรองจะเรียกว่าเครื่องกรองอากาศ (Air filtration device) วิธีการใช้เครื่องเหล่านี้จัดเป็นการควบคุมสารก่อภูมิแพ้ที่น่าจะมีประโยชน์ เพราะมีการรวบรวมการศึกษาวิจัยสรุปว่าสามารถช่วยลดปริมาณของสารก่อภูมิแพ้ใน อากาศ (aeroallergen) ได้ แต่การฟอกอากาศเพียงอย่างเดียวยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีประสิทธิภาพในการ ลดปริมาณของสารก่อภูมิ-แพ้ในอากาศได้จริง หรือมีผลยืนยันว่าทำให้อาการของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ทุเลาลง แต่อย่างไรก็ตามไม่มีผลเสียในการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน

เครื่องฟอกอากาศที่มีจำหน่ายในปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม ตามกลไกการทำงานดังนี้
1) Mechanical filters เป็นการทำให้อากาศสะอาดโดยการนำอากาศผ่านเข้าเครื่องกรองและผ่านแผ่นกรอง ที่จะดักจับฝุ่นละอองและสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ตามลักษณะของแผ่นกรอง ชนิดที่นิยมใช้มากที่สุดคือ HEPA (High efficiency particulate air) เพราะสามารถกรองอนุภาคขนาดเล็กได้ถึง 0.3-1 ไมโครเมตร ขจัดอนุภาคในอากาศได้ถึง 99.9% และมีอายุการใช้งานประมาณ 5 ปี
2) Electronic air cleaner หลักการคือทำให้อนุภาคในอากาศเป็นประจุลบแล้วตกลงสู่พื้นผิวหรือถูกดักจับ
3) Gas phase filters ทำงานโดยใช้สารเคมีหรือวัสดุที่มีคุณสมบัติในการดูดซับมลพิษที่เป็นกลิ่นไอ ระเหย และก๊าซ จึงมักได้ผลดีกับกลิ่นและก๊าซมากกว่าการลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้
4) Ozone generator มีการใช้โอโซนในการทำให้น้ำบริสุทธิ์ และยังพบว่าโอโซนที่มีความเข้มข้นสูงสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในการเก็บรักษาเนื้อสัตว์ได้ จากหลักการดังกล่าวจึงมีการนำโอโซนมาใช้ในการฟอกอากาศ เพราะเชื่อว่าสามารถขจัดอนุภาคก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และไอระเหยต่างๆ รวมทั้งจุลชีพก่อโรคที่ปนเปื้อนในอากาศได้ด้วยขบวนการ oxidation แต่โอโซนเป็นสารที่มีความระคายเคืองต่อปอดสูง (potent lung irritant) ในระดับที่มีความเข้มข้นสูงๆสามารถกระตุ้นให้เกิดโรคทางเดินหายใจได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคหืด โรคปอดเรื้อรัง เด็กและผู้สูงอายุ มีรายงานว่าโอโซนที่มีความเข้มข้นสูงถึง 6-9 ppm. ไม่สามารถฆ่าเชื้อราที่ฟุ้งกระจายในอากาศได้ ดังนั้นโอโซนจากเครื่องฟอกอากาศจึงไม่สามารถใช้ในการฆ่าเชื้อโรคแต่อาจทำให้ เกิดผลเสียมากกว่า
5) Hybrid filters เป็นการประยุกต์รวม mechanical filter, electronic air cleaner และ gas phase filters เข้าด้วยกัน มีประสิทธิภาพการทำงานสูงจากหลายกลไกร่วมกัน จึงมักมีราคาแพง

เป็นที่ทราบกันดีว่าสารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่นมีปริมาณสูงเฉพาะที่ เช่นในที่นอน หมอน หรือพื้นที่ที่เป็นพรม ฟุ้งกระจายเมื่อมีแรงมากระทบ และเป็นอนุภาคขนาดใหญ่ (>10-40 mm) มักตกลงสู่พื้นหลังการฟุ้งกระจายในเวลาไม่นานนักภายใน 5 นาที จึงมีการล่องลอยในอากาศปริมาณน้อย ต่างจากสารก่อภูมิแพ้ประเภทอื่นๆ เช่น ละอองเกสร และสปอร์ของเชื้อรา ที่เป็นอนุภาคขนาดเล็กสามารถลอยตัวในอากาศได้นาน จึงสามารถขจัดได้ผลดี ดังนั้นการใช้เครื่องฟอกอากาศจึงเป็นแค่อาจช่วยลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้ไรฝุ่นแต่ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุดหรือวิธีการแรกในการแนะนำให้ผู้ป่วยปฏิบัติ อย่างไรก็ดีพบว่าการใช้เครื่องกรองอากาศร่วมกับการคลุมที่นอนจะเพิ่มประสิทธิภาพในการลดสารก่อภูมิแพ้ไรฝุ่นได้มากกว่าการคลุมที่นอนเพียงอย่างเดียว โดยการศึกษาวิจัยนี้ประเมินประสิทธิภาพจากการที่อาการภูมิแพ้ของผู้ป่วยลดลง โดยเฉพาะในบ้านที่ปูพรมและมีสัตว์เลี้ยง

ชนิดเครื่องฟอกอากาศที่นิยมนำมาใช้ในการควบคุมสารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่นมี 3 กลุ่มหลัก คือ Mechanical filtration, Electronic air cleaner และ Hybrid filters แม้ปัจจุบันจะมีการคิดค้นระบบอื่นๆ เข้ามาเพื่อเสริมประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง แต่ยังมีกลไกหลักเช่นเดิมและยังไม่มีข้อมูลจากการศึกษาวิจัยที่แน่ชัดถึง ประสิทธิภาพของอุปกรณ์นี้ในการลดอาการทางคลินิกของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ การเลือกชนิดของเครื่องฟอกอากาศนอกจากจะคำนึงถึงประสิทธิภาพของเครื่องตามคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว ยังต้องคำนึงถึงราคา ความทนทาน ความเหมาะสมของสภาพห้องและความไวต่อชนิดของสารก่อภูมิแพ้ในผู้ป่วยแต่ละราย


*** การติดเครื่องปรับอากาศ (Air conditioning) เป็นการปรับเปลี่ยนสภาพบ้าน ห้องนอน หรือห้องพัก โดยการลดระดับความชื้นและอุณหภูมิในห้องนั้น เชื่อว่าช่วยให้สภาพไม่เหมาะสมกับการเจริญ เติบโตของไรฝุ่น ซึ่งได้ผลดีมากกับสารก่อภูมิแพ้ที่เป็นละอองเกสรหญ้า แต่ยังไม่มีรายงานประสิทธิภาพอย่างชัดเจนในการลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่นและเชื้อรา เนื่องจากความชื้นและอุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงตามสภาพภูมิอากาศปกติ และใช้ไม่ได้ผลในฤดูหนาวโดยเฉพาะประเทศในเขตอบอุ่นที่มีอากาศหนาวและแห้งอยู่

ที่มา : รศ.พญ.ดร. อัญชลี ตั้งตรงจิตร

*** ต้องการทราบระบบฟอกอากาศเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ คุณพิเชษฐ์ pichet699@gmail.com ***

อากาศและแหล่งกำเนิดมลพิษในอากาศ

องค์ประกอบของอากาศ
• ก๊าซไนโตรเจน 78%
• ก๊าซออกซิเจน 21%
• ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเฉื่อย 0.97%
• ไอน้ำ ฝุ่นละออง และจุลินทรีย์ต่างๆ 0.03%

สารก่อมลพิษในอากาศ
• โอโซน (O3)
• ไดออกซิน
• ฟอร์มาลดีไฮด์
• ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน

ฝุ่นละออง (SPM)
สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา U.S. EPA :United State Environmental Protection Agency
กำหนดค่ามาตรฐานฝุ่นขนาดเล็กเป็น 2 ชนิด คือ PM10 และ PM2.5
ที่มา : วารสารวิชาการ กระทรวงสาธารณสุข

อันตรายของฝุ่นละออง ที่มีต่อมนุษย์
ฝุ่นหิน แอสเบสตอสเป็นสารประกอบซิลิกา เกิดจาการขุดเจาะแร่ผลิตปูนซิเมนต์ทำให้เกิดโรค ซิลิโคซีส (Silicosis)
ที่มา : วารสารวิชาการ กระทรวงสาธารณสุข

แหล่งกำเนิดของปัญหาคุณภาพอากาศในปัจจุบัน
แหล่งกำเนิดภายนอกอาคาร เช่น ฝุ่นควันจากแหล่งต่างๆ เช่นโรงงาน, รถยนต์, รถจักรยานยนต์ เป็นต้น
แหล่งกำเนิดภายในอาคาร เช่น ควันบุหรี่, ละอองเกสร, กลิ่น, แบคทีเรีย, ไดออกซิน, ไวรัส, รังแคของสัตว์เลี้ยง, ไรฝุ่น, ฟอร์มัลดีไฮด์

แนวโน้มอัตราการใช้เวลาในแต่ละสถานที่
• ภายนอกอาคาร ประมาณ 10%
• ภายในรถ ประมาณ 5%
• ภายในสำนักงาน ประมาณ 25%
• ภายในบ้าน ประมาณ 60%
ที่มา : กรมควบคมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

อากาศภายในอาคารปนเปื้อนมากกว่าอากาศภายนอกอาคาร 2 - 5 เท่า
ที่มา : สำนักงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อมสหรัฐอเมริกา

วิธีป้องกันมลภาวะทางอากาศภายในอาคาร
• การทำความสะอาดอากาศ
• การระบายอากาศ
• การกรองอากาศ

เครื่องกรองอากาศ
• เทคโนโลยีการกรอง
• เทคโนโลยีการกำจัดกลิ่น

เทคโนโลยีการกรองอากาศ
1. การกรองแบบใช้แผ่นกรอง
2. การกรองแบบใช้ไฟฟ้าสถิต
3. การกรองแบบใช้ประจุไฟฟ้าลบ
4. การกรองแบบใช้แผ่นกรองฉาบไฟฟ้าสถิต

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ไรฝุ่น

ไรฝุ่น เป็นสัตว์ขาข้อมีขนาดแตกต่างกันในแต่ละสายพันธุ์ ตัวมีสีขาวคล้ายฝุ่น เดินเร็ว อยู่คลุกปะปนในฝุ่น ทำ ให้มองเห็นด้วยตาเปล่าไม่เห็น นอกจากใช้กล้องจุลทรรศน์ ไรฝุ่นมีชีวิตอยู่ได้โดยกินเศษคราบไคล รังแค หรือสารอินทรีย์ในฝุ่น ชอบอาศัยอยู่ในบริเวณแสงสว่างน้อย ชอบอยู่ในที่มีความชื้น สถานที่ในบ้านที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ของไรจึงได้แก่ ที่นอน หมอน ผ้าห่ม ตุ๊กตา เฟอร์นิเจอร์ ผ้าม่าน ฯลฯ การเจริญเติบโตของไรฝุ่น มี 4 ระยะหลักๆ ได้แก่ ไข่, ตัวอ่อน 6 ขา, ตัวอ่อน 8 ขา และ ตัวเต็มวัยเพศผู้-เมีย เมื่อตัวเต็มวัยผสมพันธุ์ได้ 3-4 วัน ตัวเมียจะตกไข่วันละ 3 ครั้งๆละฟอง ตลอดชีวิตวางไข่ได้ 40-80 ฟอง จากระยะไข่จนเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ไรจะผสมพันธุ์แล้ววางไข่ได้อีกเช่นนี้ไปเรื่อยๆตลอดอายุขัย (นาน 2 เดือน) ระหว่าง การดำรงชีวิตไรฝุ่นจะกินอาหาร-ถ่ายมูล-หลั่งสารเมือกระหว่างการตก ไข่ และลอกคราบเพื่อการเติบโต เหล่านี้ล้วนเป็นโปรตีนเรียกว่า สารก่อภูมิแพ้เพราะมีคุณสมบัติเป็นสารกระตุ้นให้ร่างกายเกิดอาการภูมิแพ้ได้

การป้องกันและกำจัดไรฝุ่น
ปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่า ไรฝุ่น เป็นสารก่อภูมิแพ้ในบ้านที่สำคัญและเป็นสาเหตุหลัก ในการก่อโรคภูมิแพ้ อันได้แก่ โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือที่เราเรียกกันว่า โรคแพ้อากาศ (Allergic rhinitis) และ โรคหืด (Asthma) มีรายงานจำนวนมากจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกว่า โรคภูมิแพ้ที่มีสาเหตุมาจากไรฝุ่นมีความชุกของโรคเพิ่มขึ้นทุกปี จนเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ การรักษาโรคแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่ใส่ใจการควบคุมสภาวะแวดล้อมของผู้ป่วย ทำให้การรักษาโรคไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร แพทย์ ได้แนะนำให้ผู้ป่วยตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันกำจัดไรฝุ่น ที่บ้าน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยมีอาการทุเลาลง และอาการไม่กำเริบบ่อยๆ ซึ่งการหลีกเลี่ยงหรือลดการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ไรฝุ่นได้ ทำให้ผู้ป่วยดีขึ้น การรักษาโรคได้ผลดี

อันดับแรกเราต้องทราบก่อนว่า เรากำลังจะสู้กับอะไร อยู่ที่ไหน เหตุ นี้จึงเป็นที่มาของความจำเป็นที่ต้องรู้จักนิสัยและชีวิตความเป็นอยู่ ของไร หรือภาษาทางการแพทย์เราเรียกว่า ชีววิทยาของไรฝุ่น นั่นเอง เมื่อทราบว่าตัวไร ไม่ชอบอะไร เราก็ทำอย่างนั้น ไรจะอยู่ไม่ได้...แต่เห็นตัวเล็กอย่างนี้..ก่อเรื่องใหญ่..กำจัดไม่ ง่ายอย่างที่คิด
หลักการกำจัดไรฝุ่นมี 3 ข้อ แต่แตกออกเป็นวิธีการต่างๆ ได้มากมาย ท่านสามารถเลือกใช้ได้ตามสะดวก คือ
1) ทำให้จำนวนตัวไรลดลง อาจจะกำจัดโดยการฆ่าหรือทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะแก่การแพร่พันธุ์
2) ทำลายสารก่อภูมิแพ้ไรฝุ่น หรืออีกนัยหนึ่งคือทำมูลไรให้หมดสภาพการเป็นสารกระตุ้น
3) หาทางหลีกเลี่ยงไม่ให้เราพบกัน จะลดการสัมผัสสูดดมได้
จาก หลักการข้างต้นสามารถคิดค้นเป็นวิธีการต่างๆ ได้มากมาย บางวิธีฆ่าตัวไรได้แต่ไม่มีผลต่อการทำลายมูล บางวิธีได้ผลกับตัวไรแต่ไม่ปลอดภัยกับตัวคน บางวิธีใช้ได้ผลดีเฉพาะในห้อง lab ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน วิธี การต่อไปนี้สามารถเลือกใช้ให้เหมาะกับแต่ละบ้าน แต่ละชนิดของเครื่องนอน โดยรวมแล้วการป้องกันไรฝุ่นปัจจุบันยังไม่มีวิธีใดเพียงวิธีเดียวที่ได้ผล ต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน

การใช้ความร้อน
- การรีดผ้า ฆ่าตัวไรได้
- การซักด้วยน้ำร้อน 60 °ซ (มือแตะได้ ไม่ลวกมือ) นาน 30 นาที
- ความร้อนสูง 140 °ซ นาน 1 ชม. ทำลายโปรตีนของสารก่อภูมิแพ้ได้ มูลไรหมดสภาพการเป็นสารกระตุ้นร่างกาย
- การตากแดด นาน 5 ชม. ยับยั้งการเจริญของไข่ไรฝุ่นได้
การใช้ความเย็น
- ไรฝุ่นเติบโตช้า ในอุณหภูมิตู้เย็น (4-10 °ซ-ช่องธรรมดา ) และตายเมื่อเก็บในช่อง freeze (-10 °ซ )
- การใช้ไนโตรเจนเหลว(-196 °ซ) ฆ่าไรฝุ่นได้ ใช้ได้ผลดีใน lab condition แต่ไม่เหมาะกับการใช้งานในชีวิตประจำวัน
การซักล้าง
- การซักผ้า จะช่วยขจัดสารก่อภูมิแพ้ได้ดี เพราะมูลไรเป็นสารละลายน้ำได้ง่าย
การคลุมด้วยวัสดุป้องกันไรฝุ่น
- วิธีการนี้เป็นการหลีกเลี่ยงเพื่อลดการสัมผัสกับไรฝุ่นและสารก่อภูมิแพ้ การใช้ ผ้ากันไรฝุ่นที่มีประสิทธิภาพ เช่น พลาสติก หรือ ผ้าทอแน่นที่มีรูห่างของผ้าเล็กกว่ามูลไร (10 ไมโครเมตร) หุ้มที่นอน/หมอน ทำให้สามารถกั้นมูลไม่ให้ฟุ้งออกจากเครื่องนอนมาสัมผัสเรา มีผลให้ลดการสูดดมลงได้ การใช้ผ้ากันไรฝุ่นไม่ได้ช่วยลดปริมาณตัวไรแต่อย่างใด
เครื่องดูดฝุ่น
- ควรใช้เครื่องที่มีถุงเก็บกัก 2 ชั้น หรือถุงอย่างหนาเพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของสารก่อภูมิแพ้
- มี HEPA filter
- ช่วยลดสารก่อภูมิแพ้ แต่ไม่ลดปริมาณไรฝุ่น ระหว่างใช้งานต้องสวมผ้าปิดจมูก
เครื่องกรองอากาศ
- มี ประโยชน์ในการดักจับสารก่อภูมิแพ้ที่ลอยในอากาศ เช่น ละอองเกสรพืช ดังนั้นจึงมีประโยชน์ ต่อผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้เกสรพืช มากกว่าผู้ที่แพ้ไรฝุ่น อย่างไรก็ดีไม่มีข้อเสียหายในการใช้ ส่วนข้อดีว่ามีประสิทธิภาพในการลดสารก่อภูมิแพ้ไรฝุ่นได้นั้นยังไม่มีรายงาน ชัดเจน
การใช้สารเคมี
- ยาฆ่าไร (acaricide) นำมาใช้งานในรูปแบต่างๆ เช่น ผงฆ่าไรในพรม (powder), foam หรือ spray สำหรับฉีด, addictive solution ผสมน้ำใช้ซักผ้า, ผ้าเคลือบสาร (impregnated cover) ด้วยสารกลุ่มไพรมิทิน
การใช้สารธรรมชาติ
- ปัจจุบัน สังคมได้ถามหาสารธรรมชาติเพื่อมาใช้ทดแทนสารเคมีกันมากขึ้น เพราะตระหนักถึงสุขภาพและความปลอดภัยในระยะยาว มีรายงานวิจัยทั้งจากต่างประเทศและประเทศไทยเกี่ยวกับการนำพืชสมุนไพรมาใช้ ในการกำจัดไรฝุ่น เช่น tannin เป็นสาร ทำลายโปรตีนสารก่อภูมิแพ้ (denaturants), น้ำมันยูคาลิปตัส, tea มักใช้ผสมน้ำสำหรับซักผ้า นอกจากนี้ยังมีการนำสารสมุนไพรมาเคลือบผ้า เช่นสารสกัดจากดอก Chrysanthemums ศูนย์บริการและวิจัยไรฝุ่นศิริราชได้คิดค้นน้ำยาสกัดสมุนไพรฆ่าไรซึ่งได้ ผลดี ฆ่าไรได้ 100% และมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ด้วย ปัจจุบันนำมาบรรจุในรูป anti-mite herbal spray

ที่มา : รศ. วรรณะ มหากิตติคุณ


*** ต้องการกำจัดไรฝุ่นภายในบ้านอย่างได้ผล กรุณาติดต่อ คุณพิเชษฐ์ pichet699@gmail.com***

โรคหอบหืด

โรคหอบหืดเป็นโรคของหลอดลมที่มีการอักเสบเรื้อรัง (Chronic inflammatory) เป็นผลให้มี cell ต่างๆ เช่น mast cell, eosinophils, T-lymphocyte, macrophage, neutrophil มาสะสมที่เยื่อบุผนังหลอดลม ทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารภูมิแพ้ และสิ่งแวดล้อมมากกว่าคนปกติ (bronchial hyper-reactivity) ผลจากการอักเสบจึงทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีการหนาตัว กล้ามเนื้อหลอดลมมีการหดเกร็งตัว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด และหอบเหนื่อย อาการหอบเหนื่อยจะเกิดขึ้นทันทีที่ได้รับสารภูมิแพ้

การวินิจฉัยโรคหอบหืด
แพทย์จะวินิจฉัยโดยอาศัยประวัติ การตรวจร่างกาย และการตรวจสมรรถภาพปอด

เมื่อไรจึงจะสงสัยว่าเป็นโรคหอบหืด
หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ควรไปพบแพทย์ เพื่อการตรวจ Spirometry เพื่อการวินิจฉัยว่าเป็นหอบหืดหรือไม่
1. มีประวัติ ไอ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงดังหวีด และหอบเป็นๆหายๆ
2. มีอาการหอบหืดเกิดขึ้นทันที่เมื่อได้รับสิ่งกระตุ้น และอาการดังกล่าวจะหายไปได้เอง หรือหายไปเมื่อได้ยาขยายหลอดลม
3. ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาจะมีหอบหืดเกิดขึ้นหรือเป็นมากขึ้นในเวลากลางคืน
4. มีประวัตผื่นคัน อาการคันและอักเสบของเยื่อบุตา อาการคัดจมูกเรื้อรังหรืออาการจาม
5. มีประวัติหอบหืดในครอบครัว
6. อาการหอบหืดจะเกิดหรือเป็นมากขึ้นในภาวะดังต่อไปนี้
• หลังออกกำลังกาย
• เป็นไข้หวัด
• ควันบุหรี่
• เกศรดอกไม้
• รังแคสัตว์
• ฝุ่นจากหมอน พรม ผ้าห่ม
• อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง
• อารมณ์ผันผวน
• สารเคมีเช่นกลิ่นสี spray
• ยา เช่น Aspirin
ภาวะอื่นๆที่พบร่วมกับโรคหอบหืด
• อาการภูมิแพ้
• อาการคัดจมูก น้ำมูกไหล หรือไซนัสอักเสบ
• การที่มีภาวะกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อน gastroesophageal reflux disease

สาเหตุของโรคหอบหืด
ช่วงที่ไม่มีอาการของโรคหอบหืด ผู้ป่วยจะเหมือนคนปกติ ไม่หอบ ไม่แน่นหน้าอก เล่นกีฬาได้ แต่เมื่อผู้ป่วยได้รับสารที่เป็นภูมิแพ้ผู้ป่วยจะเกิดอาการหอบ แน่นหน้าอก และไอ สำหรับสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้แบ่งได้เป็นหัวข้อดังนี้
• สารภูมิแพ้ในบ้าน
• สารภูมิแพ้นอกบ้าน

สารภูมิแพ้ในบ้าน
แม้ว่าบ้านจะเป็นที่ปลอดภัยสำหรับตัวท่าน หากคุณเป็นโรคหอบหืด บ้านก็อาจจะเป็นแหล่องที่กระตุ้นให้เกิดอาการหอบหืด คุณควรจะจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม สารก่อภูมิแพ้หลายชนิดเช่น รา เกสรดอกไม้ มลภาวะ ก็สามารถพบได้ในบ้านของท่าน หากคุณทราบชนิดของสารภูมิแพ้ต้องพยายามหลีกเลี่ยงสารภูมิแพ้ต่างๆ เนื่องจากหากได้รับสารภูมิแพ้นานๆ ทำให้โรคหอบหืดกำเริบเฉียบพลันได้บ่อยและอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

สารภูมิแพ้จากสัตว์เลี้ยง (Animal Allergen)
สารภูมิแพ้จากสัตว์เลี้ยงเช่น สุนัข แมว หนู นก สารที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ได้แก่ รังแค ขน ปัสสาวะ อุจาระ น้ำลาย หากคุณแพ้คุณควรที่จะป้องกันดังต่อไปนี้
• ย้ายสัตว์และขนสัตว์ออกจากบริเวรบ้าน ถ้าไม่สามารถย้ายออกจากบ้านให้ เอาขนสัตว์ออกจากห้องนอน
• ปิดประตูห้องนอนติดเครื่องกรองอากาศที่มีแผ่นกรอง HEPA ก่อนที่อากาศจะเข้าห้อง
• ไม่ใช้พรมในห้องนอน
• อาบน้ำให้สัตว์อาทิตย์ละสองครั้ง
• ทำความสะอาดบ้านบ่อยๆโดยใช้เครื่องดูดฝุ่นที่มีแผ่นกรอง HEPA
• หุ้มปลอกหมอนและเตียงด้วยสารป้องกันภูมิแพ้
• เลี้ยงปลาได้

สารภูมิแพ้จากไรฝุ่น (House-Dust Mite Allergen)
พบไรฝุ่นมากในที่มีความชื้นสูง พบร่วมกับฝุ่นที่มาจากเสื่อ หมอน พรม ผ้าคลุมเตียง เสื้อผ้า ตุ๊กตาควรจัดห้องให้ปลอดฝุ่นวิธีป้องกันไรฝุ่นทำได้ดังนี้
• หุ้มหมอน เตียง เสื่อด้วยสารป้องกันภูมิแพ้
• ล้างปลอกหมอน ผ้าคลุมเตียงทุกสัปดาห์โดยใช้น้ำร้อนมากกว่า 55 ํC
• ลดความชื้นของห้องนอนให้น้อยกว่า 50%โดยใช้เครื่องลดความชื้น
• นำพรมออกจากห้องนอน
• ไม่ควรนำตุ๊กตาไว้ในห้องนอน ควรจะล้างทุกอาทิตย์ด้วยน้ำร้อน

สารภูมิแพ้จากแมลงสาบ (Cockraches Alergen)
เป็นสาเหตุที่ทำให้หอบหืดเป็นมากขึ้น น้ำลาย ปัสสาวะ อุจาระ ผิวหนังของแมลงสาบเป็นสารภูมิแพ้สำหรับบางคนควรกำจัดแมลงสาบให้หมดจากบ้านไม่ควรเหลือเศษอาหารให้แมลงสาบ อาหารควรเก็บไวในถุงที่ปิดสนิท ควรใช้กับดักหรือกรงมากกว่าสารเคมีเพราะอาจเกิดการแพ้ได้ จัดการรูรั่วของประปา

สารภูมิแพ้จากอาหาร (Food Allergies)
ผู้ป่วยที่แพ้อาหารนอกจากทำให้เกิดผื่น ปวดท้อง ท้องเสียยังทำให้เกิดอาการหายใจลำบาก วิธีป้องกันคือ จำให้ได้ว่าแพ้อาหารอะไรแล้วหลีกเลี่ยง ให้อ่านสลากเพื่อดูส่วนผสมว่ามีสิ่งที่แพ้หรือไม่

เชื้อราภายในบ้าน (Indoor Fungi)
รามีมากในที่ชื้น และอากาศถ่ายเทไม่ดี เช่นห้องน้ำ ห้องเก็บของ ควรแก้ไขท่อน้ำที่รั่ว ทำความสะอาดบริเวนที่มีเชื้อรา ลดความชื้นในห้องนอนให้น้อยกว่า50%
• ทำความสะอาดบริเวณที่คิดว่ามีเชื้อรา เช่นห้องน้ำ ห้องครัวอาจจะใช้ยาฆ่าเชื้อรา
• ระบบถ่ายเทน้ำต้องไม่มีการขัง
• ใช้เครื่องลดความชื้น
• ใช้พัดลมดูดอากาศในห้องน้ำ ห้องครัว
• ลดการปลุกต้นไม้ ใช้ดอกไม้พลาสติกแทนดอกไม้จริง
• ทำความสะอาดท่อระบายน้ำทุก 5 ปี

สารเคมี
สารเคมีที่ใช้ในบ้านอาจจะกระตุ้นให้อาการหอบหืดเป็นมากขึ้น เช่น กลิ่นสี ยาฆ่าแมลง สเปรย์แต่งผม รวมทั้งควันบุหรี่ ควันจากเตาไฟ

โรคหอบหืดที่เกิดจากงาน
ผู้ที่เปลี่ยนงานแล้วเกิดโรคหอบหืด หรือมีอาการหอบเมื่อเข้าที่ทำงาน แสดงว่าท่านอาจจะแพ้สารเคมีในโรงงาน ผู้ที่ทำงานในโรงงานเหล่านี้จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหอบหืด
• ผู้ที่แพ้ แป้ง ธัญพืช ไม่ควรมีอาชีพ ช่างทำขนมปัง นักเคมี ชาวไร่
• แพ้สัตว์ แมลง เชื้อราไม่ควรมีอาชีพ เลี้ยงสัตว์ พนักงานห้องทดลอง
• แพ้สารเคมี ไม่ควรมีอาชีพ ทำงานเกี่ยวกับน้ำมัน เครื่องเย็น ช่างแต่ผม พนักฟอกย้อม
• แพ้โลหะ และ Isocynates ไม่ควรทำงานกับการพ่นสีรถยนต์ ตู้เย็น เครื่องพิมพ์
• ยา ไม่ควรทำงานในโรงงานยา

สารภูมิแพ้นอกอาคาร Outdoor Allergen
เมื่ออยู่นอกบ้านคุณไม่สามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมได้ คุณไม่สามารถทำความสะอาดสนามหญ้า หรือใช้เครื่องกรองอากาศ แต่สิ่งที่คุณสามารถทำได้ก็คือการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงสภาวะบางอย่าง สิ่งแวดล้อมนอกบ้านที่เป็นปัญหาได้แก่เกสรดอกไม้ หญ้า ต้นไม้ สปอร์ของรา

เชื้อรา Moulds
เชื้อราสามารถให้หอบหืด โดยเฉพาะสปอร์ของเชื้อราสามารถลอยไปในอากาศ เมื่อคนที่เป็นโรคหอบหืดสูดดมเข้าไปจะเกิดอาการ จาม คัดจมูก แน่นหน้าอก ไอ จนกระทั่งหอบหืด หากท่านแพ้เชื้อราควรจะปฏิบัติดังนี้
• เก็บกวาดหญ้าให้สะอาดหลังจากการตัดหญ้า
• เก็บกวาดใบไม้ที่ร่วงล่นให้หมด
• เก็บกวาดขยะ กระป๋องรอบบ้านให้หมด รวมทั้งวัสดุที่จะอุ้มน้ำ
• ทางเดิน หรือสนามหญ้าไม่ควรให้ชื้นตลอดเวลา

เกสรดอกไม้
เกสรดอกไม้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้บ่อย เกสรอาจจะมาจากดอกไม้ หญ้า เมื่อดูดเข้าไปก็จะเกิดอาการหอบหืดวิธีป้องกัน
• ใช้เครื่องกรองอากาศที่มีแผ่นกรอง HEPA
• ช่วงที่มีเกสรดอกไม้มากให้ปิดหน้าต่างและเปิดเครื่องปรับอากาศ
• งดออกกำลังกายกลางแจ้ช่วงมีเกศรดอกไม้มาก
• ช่วงที่มีเกสรดอกไม้มากเมื่อกลับถึงบ้านให้เปลี่ยนเสื้อ
• หลีกเลี่ยงการปลูกต้นไม้ใกล้หน้าต่าง
• อย่าตากผ้ากลางแจ้ง
• อย่าดมหรือจับต้องดอกไม้ที่คุณสงสัยว่าจะแพ้

อากาศเย็น
ผู้ที่แพ้อากาศเย็น หรือการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอาจจะเกิดอาการหอบได้ วิธีป้องกันทำได้โดย
• ให้หายใจผ่านทางจมูกเพราะจะทำให้อากาศอุ่นขึ้น
• หากต้องหายใจทางปาก ต้องสวมหน้ากากเพื่อเพิ่มความชื้นให้อากาศ
ช่วงอากาศเย็นให้ออกกำลังกายในบ้าน

เครื่องมือที่ช่วยใช้ในโรคหอบหืด
• เครื่องดูดฝุ่น ผู้ป่วยหอบหืดที่แพ้ฝุ่นควรใช้ชนิดถุงที่อยู่นอกห้องนอนถ้าผู้ป่วยจะดูดฝุ่นเองควรใส่หน้ากากกันฝุ่น
• เครื่องกรองอากาศ ใช้เครื่องกรองที่มี HEPA and Electroststic filter จึงสามารถกันspore ควันบุหรี่ ฝุ่น แต่ไม่สามารถกันไรฝุ่น สารภูมิแพ้จากแมลงสาบ
• Humidifier ไม่ควรใช้เครื่องให้ความชื้นในห้องเพราะจะทำให้เกิดไรฝุ่น
• ไม่ควรใช้เครื่อง Ozone เพราะทำให้เกิดระคายเคืองต่อหลอดลม
• การจำแนกความรุนแรงของโรคหอบหืดเมื่อให้ผู้ป่วยทราบความรุนแรงของโรคว่าอยู่ในขั้นไหนจะทำให้ทราบว่าควรจะได้รับยาอะไรบ้าง

*** ต้องการกำจัดต้นเหตุที่ทำให้เป็นหอบหืด กรุณาติดต่อ คุณพิเชษฐ์ pichet699@gmail.com ***

โรคภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้ (Allergy) คือโรคที่เกิดจากร่างกายมีความไวผิดปกติต่อสิ่งแวดล้อมกระตุ้นภายนอกแตกต่างไปจากคนปกติทั่วไป แทนที่จะสร้างภูมิต้านทานโรค กลับไปสร้างภูมิชนิดที่ก่อให้เกิด อาการภูมิแพ้แทน ที่เรียกว่า สารก่อภูมิแพ้ (Antigen) เช่น ฝุ่นบ้าน ไรฝุ่นที่นอน รังแคสัตว์เลี้ยง ฝุ่นซากแมลงสาบ เกสรดอกหญ้า อาหาร หรือ ยาบางชนิด

กลไกการเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้
โดยปกติเมื่อร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้ เข้าไปในร่างกายบ่อยๆ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะทำการจดจำและสร้างภูมิคุ้มกันชนิดหนึ่งที่มีสมบัติเป็นโปรตีน เรียกว่า IgE (ไอ-จี-อี ) และเมื่อร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้เข้าไปอีก สารก่อภูมิแพ้ จะไปจับกับ IgE ซึ่งอยู่บนเม็ดเลือดขาว ทำให้เม็ดเลือดขาวนี้แตกออกและปล่อยสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ฮิสตามีน (histamine) ออกมา ส่งผลให้เยื่อบุจมูก เยื่อบุตา ลำคอ เกิดการอักเสบ เกิดการบวม และสร้างเมือกออกมามากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการ คัดจมูก น้ำมูกไหล และคันจมูกตามมา

ชนิดของโรคภูมิแพ้
โรคภูมิแพ้สามารถแบ่งได้เป็น 4 โรคคือ
1) โรคหืด (Asthma)
2) โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic rhinitis) หรือ โรคแพ้อากาศ
3) โรคเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic conjunctivitis)
4) โรคผื่นภูมิแพ้ (Atopic eczema)
โรคภูมิแพ้อีกกลุ่มที่เกิดจากการได้รับสารกระตุ้นอื่นที่ชัดเจน เช่น
1) โรคภูมิแพ้ที่เกิดจากอาหาร (Food allergy)
2) การแพ้ยาและสารเคมี (Drug and chemical substance allergy)

โรคภูมิแพ้พบบ่อยเพียงใด
โรคภูมิแพ้จัดเป็นโรคที่พบบ่อยโรคหนึ่งในประเทศไทย จากการศึกษาอัตราความชุกของโรคในประเทศไทย มีอัตราความชุกอยู่ระหว่างร้อยละ 10-50 ของประชากรทั้งประเทศ โดยโรคโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้มีความชุกสูงสุดในกลุ่มโรคภูมิแพ้ นั่นหมายความว่า ประชากรเกือบครึ่งหนึ่งของประเทศ มีปัญหาเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้อยู่ รองลงมาคือโรคหืด และโรคผื่นภูมิแพ้ในอัตราความชุกใกล้เคียงกัน นอกจากนี้อัตราการเกิดโรคภูมิแพ้มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในระยะ 20 ปีที่ผ่านมา สำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกา โรคภูมิแพ้จัดได้ว่าเป็นโรคเรื้อรังที่สำคัญอันดับที่ 6 เลยทีเดียว

สาเหตุปัจจัยของโรคภูมิแพ้
1) ปัจจัยทางพันธุกรรม
โรคภูมิแพ้ เป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ไม่มีประวัติโรคภูมิแพ้ในครอบครัวก็สามารถเกิดโรคภูมิแพ้ได้เองประมาณ ร้อยละ 10-20 ถ้าพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งเป็นโรคภูมิแพ้ ลูกจะมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ประมาณร้อยละ 25-50 แต่ถ้าทั้งพ่อและแม่เป็นโรคภูมิแพ้ทั้งคู่ ลูกที่เกิดออกมามีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้สูงถึงร้อยละ 70 โดยเฉพาะโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือโรคแพ้อากาศจะมีอัตราการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์สูงที่สุด
2) ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม
ส่วนมากอาการแสดงของโรคภูมิแพ้จะเกิดขึ้นได้เมื่อได้รับสิ่งแวดล้อมที่สามารถกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาภูมิไวเกินในร่างกาย ซึ่งจะต้องได้รับปริมาณมากและนานพอที่จะกระตุ้นให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยา ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมดังกล่าวได้แก่
- การได้รับหรือสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ (Allergen exposure)
- การติดเชื้อ (Infection) จากการศึกษาทางระบาดวิทยา โรคภูมิแพ้พบมากในเด็กที่มีสุขอนามัยดี หรืออยู่ในประเทศที่พัฒนาแล้วมากกว่าเด็กที่มีสุขอนามัยไม่ดี หรืออยู่ในประเทศกำลังพัฒนา เช่นการพบเด็กที่อยู่ในเมืองเป็นโรคภูมิแพ้มากกว่าเด็กที่อยู่ในชนบท
- การสูบบุหรี่ (Smoking) การได้รับควันบุหรี่จากผู้ที่สูบบุหรี่โดยที่ตนเองไม่ได้สูบบุหรี่เอง (Passive smoking) จะได้รับปริมาณสารพิษจากควันบุหรี่มากกว่าผู้ที่สูบโดยตรงถึง 3-40 เท่า เช่น เด็กที่ได้รับควันบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคหืดมากกว่าเด็กปกติ 2 เท่า และในเด็กที่เป็นโรคหืดอยู่แล้วก็จะมีโอกาสเกิดอาการกำเริบและต้องใช้ยาควบคุมโรคมากขึ้น
- การได้รับนมแม่ (Breast feeding) นอกจากทำให้มีภูมิต้านทานโรคต่างๆ มากขึ้นแล้วยังลดโอกาสการเป็นโรคภูมิแพ้ด้วย
- มลพิษ (Pollution) เช่นมลภาวะจากท่อไอเสียรถยนต์ จากโรงงานอุตสาหกรรม จะกระตุ้นให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจได้เช่นกัน

ขอบคุณข้อมูล พญ.เปรมจิต ไวยาวัจมัย

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคภูมิแพ้
1. อาการของโรคภูมิแพ้
• อาการที่เริ่มเป็นโรคภูมิแพ้ ส่วนใหญ่มักจะเริ่มเกิดเมื่ออายุ 20 ปีแต่ก็มีผู้ป่วยที่เริ่มเป็นตั้งแต่อายุน้อย และเป็นต่อเนื่องจนวัยหนุ่ม
• อาการภูมิแพ้เป็นทั้งปี (perennial rhinitis)หรือเป็นเฉพาะฤดู (seasonal rhinitis) หรืออาจจะเป็นทั้งสองแบบผสมกัน อาการภูมิแพ้เป็นทั้งวัน หรือเป็นเฉพาะเจอเหตุการณ์ที่พิเศษ การเป็นคนช่างสังเกตจะช่วยให้ช่วยในการวินิจฉัยโรค
• เมื่อเวลาเป็นภูมิแพ้มีอาการที่อวัยวะไหนบ้าง ส่วนใหญ่จะมีอาการคันจมูก คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม แต่บางคนจะมีอาการเคืองตา น้ำตาไหล
2. ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการภูมิแพ้
• ทราบปัจจัยกระตุ้นอาการภูมิแพ้หรือไม่ เช่นเมื่อเจอฝุ่น หรือเกิดอาการเมื่อจุดธูป หรือแพ้ขนสัตว์ หากสิ่งที่สงสัยว่าจะเป็นภูมิแพ้แล้วเกิดอาการแสดงว่าแพ้สิ่งนั้น
• อาการภูมิแพ้อาจจะเป็นมากขึ้นหากสัมผัสสารระคายเคือง เช่น ควันบุหรี่ กลิ่นสี กลิ่นแรงๆ
• ผู้ที่เป็นภูมิแพ้ตลอดปีมักจะแพ้ ไรฝุ่น หรือแพ้ขนสัตว์
3. การตอบสนองต่อการรักษา
• หากตอบสนองการรักษาด้วยยาแก้แพ้ antihistamine ได้ผลดีก็จะช่วยในการวินิจฉัย แต่ผู้ป่วยที่คัดจมูกโดยที่ไม่ใช่โรคภูมิแพ้ก็ตอบสนองต่อยาแก้แพ้
• หากตอบสนองต่อยาพ่นจมูก steroid แสดงว่าเกิดจากภูมิแพ้
4. หาโรคร่วม
• ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้มักจะมีโรคร่วม เช่นผิวหนังอักเสบ โรคหอบหืด หากไม่ควบคุมอาการภูมิแพ้จะทำให้โรคหอบหืดหรือโรคผิวหนังกำเริบ
• ค้นหาโรคแทรกซ้อน เช่นไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ โรคนอนกรน ฟันกร่อนเนื่องจากนอนกัดฟัน ริดสีดวงจมูก (nasal polyp)
• มีโรคหลายโรคที่ทำให้เกิดอาการแพ้ เช่น ต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อย
5. ประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว
• ผู้ที่มีพ่อแม่เป็นโรคภูมิแพ้ ก็มีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้สูง
• ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ อาจจะไม่มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว เนื่องจากอาจจะมีปัจจัยอย่างอื่น
6. สิ่งแวดล้อม
• ให้สังเกตสิ่งแวดล้อมที่จะทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ทั้งปี เช่น ปัจจัยที่ทำให้เกิดไรฝุ่น รา สัตว์เลี้ยง ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ เช่น อาชีพเกี่ยวกับพรม ความร้อน ความชื้น
• สิ่งแวดล้อมในที่ทำงานหรือโรงเรียนที่อาจจะทำให้เกิดภูมิแพ้ เช่น การทำงานเกี่ยวข้องกับสัตว์ ความชื้น เกสรดอกไม้เป็นต้น
คนที่เป็นภูมิแพ้จะมีลักษณะอย่างไร
• เมื่อส่องดูรูจมูกจะพบว่าเยื่อจมูกบวมสีแดง บางคนอาจจะซีดหรือสีม่วงคล้ำ ลักษณะน้ำมูกก็ช่วยบอกโรคได้เช่น หากน้ำมูกใสก็น่าจะเป็นภูมิแพ้ หากมีน้ำมูกข้างเดียวสีเหมือนหนองก็น่าจะเป็นไซนัสอักเสบ
• อาจจะมีการอักเสบของหู แก้วหูอาจจะทะลุทำให้ผู้ป่วยได้ยินไม่ชัด
• เยื่อบุตาอาจจะแดง และบวมเนื่องจากภูมิแพ้

แพทย์จะตรวจอะไรบ้างเพื่อหาสาเหตุของโรคภูมิแพ้
การตรวจร่างกาย
• ตรวจดูว่าใช้ปากหายใจแทนจมูกหรือไม่
• ตรวจจมูกว่ามีรอยขวางกลางจมูกหรือไม่
• ส่องตรวจรูจมูกเพื่อตรวจดูว่ามี polyp เยื่อบุจมูกว่าบวมหรือไม่ สีของเยื่อบุจมูก สีของน้ำมูก
• ตรวจตาว่ามีการอักเสบของเยื่อบุตาหรือไม่
• ตรวจคอ ว่ามีเสมหะติดคอหรือไม่ ต่อมทอนซิลโตหรือไม่
• ตรวจหูว่ามีหูน้ำหนวก หรืออักเสบ
การทดสอบทางภูมิแพ้
• การ ทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังซึ่งสามารถทำได้สองวิธีคือ การใช้เข็มสะกิดผิวหนังให้เป็นแผลแล้วหยดสารที่สงสัยว่าจะเป็นสารภูมิแพ้บน ผิวหนังที่เป็นแผล รอดูผลซึ่งจะเกิดผื่นลมพิษบริเวณดังกล่าวในเวลา 10-15 นาที หรืออาจจะใช้วิธีฉีดสารที่สงสัยว่าจะแพ้เข้าใต้ผิวหนัง แล้วรอผลว่าจะเกิดลมพิษหรือไม่
• การเจาะเลือดตรวจหาระดับภูมิ IgE หลังจากผิวหนังถูกกระตุ้นด้วยสารที่สงสัยว่าจะเป็นสารภูมิแพ้
• การเจาะเลือดหาระดับ IgE ซึ่งผู้ป่วยภูมิแพ้มักจะมีภูมิ IgE ระดับสูง
• การเจาะเลือดตรวจ CBC จะพบว่ามีเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด Eosinophil สูง
• การตรวจทางรังสีเพื่อตรวจดูว่ามีโรคแทรกซ้อน เช่นไซนัสอักเสบโดยอาจจะเป็นการตรวจ X-RAY ธรรมดาหรือตรวจด้วยคอมพิวเตอร์
• การตรวจพิเศษเช่นการส่องเข้าไปในรูจมูก Rhinoscopy เพื่อตรวจดูว่ามีเนื้องอก หรือสิ่งผิดปกติอย่างอื่นหรือไม่
การรักษา

ขั้นตอนในการรักษาโรคภูมิแพ้
อาการไม่หนักหรือนานๆจะเป็นสักครั้ง
• ยังไม่ต้องใช้ยา
• แนะนำให้หลีกเลี่ยงจากสารที่ทำให้เกิดภูมิแพ้
อาการเป็นหนักปานกลางและเป็นบ่อย
• ให้ยาแก้แพ้ชนิดรับประทาน หรือ
• ให้ยา steroid ชนิดพ่น
• สำหรับเด็กอาจจะใช้ยาพ่นชนิดยับยั้ง mast cell
ในรายที่มีอาการรุนแรง
• เริ่มด้วยยา steroid ชนิดพ่น
• หรือยาแก้แพ้ชนิดรับประทาน
• หากอาการเป็นมากอาจจะให้ prednisolone รับประทาน

ข้อแนะนำในการรักษาโรคภูมิแพ้สำหรับคนไข้
หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ทั้งสารที่สงสัย และสิ่งแวดล้อมรวมทั้งสารที่ระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ
• สิ่งแวดล้อมนอกบ้านได้แก่ เกสรดอกไม้ รานอกบ้าน
• สิ่งแวดล้อมในบ้าน ไรฝุ่น แมลงสาบ จัดห้องให้ปลอดฝุ่น สัตว์เลี้ยง
• สิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน
• การรักษาโดยการใช้ยา
• การรักษาโดยการฉีดสารภูมิแพ้ Immunotherapy (desensitization)

โรคภูมิแพ้ กับการป้องกันอย่างง่ายๆ
สิ่งกระตุ้นให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้มากคือ การสัมผัสการเปลี่ยนแปลงของอากาศ สุขภาพอ่อนแอและเครียด ดังนั้น หากไม่อยากให้โรคภูมิแพ้อากาศมารบกวน ควรหมั่นดูแลรักษาตนเองและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ดังนี้
การดูแลตัวเอง
- ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทุกวัน รับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ
- หลีกเลี่ยงความเครียด ใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง ไม่ควรหายามาทานเอง
การดูแลสิ่งแวดล้อม
ด้วยการกำจัดฝุ่นละอองและตัวไรในห้องนอน ทำความสะอาดห้องนอนทุกวัน จัดห้องนอนให้โล่ง มีเครื่องตกแต่งน้อยชิ้นที่สุด หลีกเลี่ยงวัสดุที่ทำจากขนสัตว์ นุ่น หลีกเลี่ยงการใช้พรม ที่นอนและหมอนควรนำออกตากแดดทุกสัปดาห์ ผ้าคลุมที่นอน ปลอกหมอน ผ้าห่ม มุ้ง ผ้าคลุมเตียง ควรทำความสะอาดอย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง ควรเก็บหนังสือและเสื้อผ้าในตู้ที่ปิดมิดชิด ใช้วัสดุที่เป็นใยสังเคราะห์หรือฟองน้ำ กำจัดแหล่งที่อยู่ของแมลงสาบและแมลงอื่นๆ ในบ้าน หลีกเลี่ยงการวางดอกไม้สดหรือต้นไม้ภายในบ้าน ไม่ควรคลุกคลีหรือนำสัตว์เลี้ยงมาไว้ในบ้าน กำจัดเชื้อรา อย่าให้เกิดความชื้นหรืออับทึบ เช่น ห้องน้ำ กระถางต้นไม้

*** ต้องการตรวจสอบและระบบกำจัดสิ่งที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ภายในบ้าน กรุณาติดต่อ คุณพิเชษฐ์ pichet699@gmail.com ***