วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ไรฝุ่น

ไรฝุ่น เป็นสัตว์ขาข้อมีขนาดแตกต่างกันในแต่ละสายพันธุ์ ตัวมีสีขาวคล้ายฝุ่น เดินเร็ว อยู่คลุกปะปนในฝุ่น ทำ ให้มองเห็นด้วยตาเปล่าไม่เห็น นอกจากใช้กล้องจุลทรรศน์ ไรฝุ่นมีชีวิตอยู่ได้โดยกินเศษคราบไคล รังแค หรือสารอินทรีย์ในฝุ่น ชอบอาศัยอยู่ในบริเวณแสงสว่างน้อย ชอบอยู่ในที่มีความชื้น สถานที่ในบ้านที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ของไรจึงได้แก่ ที่นอน หมอน ผ้าห่ม ตุ๊กตา เฟอร์นิเจอร์ ผ้าม่าน ฯลฯ การเจริญเติบโตของไรฝุ่น มี 4 ระยะหลักๆ ได้แก่ ไข่, ตัวอ่อน 6 ขา, ตัวอ่อน 8 ขา และ ตัวเต็มวัยเพศผู้-เมีย เมื่อตัวเต็มวัยผสมพันธุ์ได้ 3-4 วัน ตัวเมียจะตกไข่วันละ 3 ครั้งๆละฟอง ตลอดชีวิตวางไข่ได้ 40-80 ฟอง จากระยะไข่จนเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ไรจะผสมพันธุ์แล้ววางไข่ได้อีกเช่นนี้ไปเรื่อยๆตลอดอายุขัย (นาน 2 เดือน) ระหว่าง การดำรงชีวิตไรฝุ่นจะกินอาหาร-ถ่ายมูล-หลั่งสารเมือกระหว่างการตก ไข่ และลอกคราบเพื่อการเติบโต เหล่านี้ล้วนเป็นโปรตีนเรียกว่า สารก่อภูมิแพ้เพราะมีคุณสมบัติเป็นสารกระตุ้นให้ร่างกายเกิดอาการภูมิแพ้ได้

การป้องกันและกำจัดไรฝุ่น
ปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่า ไรฝุ่น เป็นสารก่อภูมิแพ้ในบ้านที่สำคัญและเป็นสาเหตุหลัก ในการก่อโรคภูมิแพ้ อันได้แก่ โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือที่เราเรียกกันว่า โรคแพ้อากาศ (Allergic rhinitis) และ โรคหืด (Asthma) มีรายงานจำนวนมากจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกว่า โรคภูมิแพ้ที่มีสาเหตุมาจากไรฝุ่นมีความชุกของโรคเพิ่มขึ้นทุกปี จนเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ การรักษาโรคแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่ใส่ใจการควบคุมสภาวะแวดล้อมของผู้ป่วย ทำให้การรักษาโรคไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร แพทย์ ได้แนะนำให้ผู้ป่วยตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันกำจัดไรฝุ่น ที่บ้าน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยมีอาการทุเลาลง และอาการไม่กำเริบบ่อยๆ ซึ่งการหลีกเลี่ยงหรือลดการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ไรฝุ่นได้ ทำให้ผู้ป่วยดีขึ้น การรักษาโรคได้ผลดี

อันดับแรกเราต้องทราบก่อนว่า เรากำลังจะสู้กับอะไร อยู่ที่ไหน เหตุ นี้จึงเป็นที่มาของความจำเป็นที่ต้องรู้จักนิสัยและชีวิตความเป็นอยู่ ของไร หรือภาษาทางการแพทย์เราเรียกว่า ชีววิทยาของไรฝุ่น นั่นเอง เมื่อทราบว่าตัวไร ไม่ชอบอะไร เราก็ทำอย่างนั้น ไรจะอยู่ไม่ได้...แต่เห็นตัวเล็กอย่างนี้..ก่อเรื่องใหญ่..กำจัดไม่ ง่ายอย่างที่คิด
หลักการกำจัดไรฝุ่นมี 3 ข้อ แต่แตกออกเป็นวิธีการต่างๆ ได้มากมาย ท่านสามารถเลือกใช้ได้ตามสะดวก คือ
1) ทำให้จำนวนตัวไรลดลง อาจจะกำจัดโดยการฆ่าหรือทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะแก่การแพร่พันธุ์
2) ทำลายสารก่อภูมิแพ้ไรฝุ่น หรืออีกนัยหนึ่งคือทำมูลไรให้หมดสภาพการเป็นสารกระตุ้น
3) หาทางหลีกเลี่ยงไม่ให้เราพบกัน จะลดการสัมผัสสูดดมได้
จาก หลักการข้างต้นสามารถคิดค้นเป็นวิธีการต่างๆ ได้มากมาย บางวิธีฆ่าตัวไรได้แต่ไม่มีผลต่อการทำลายมูล บางวิธีได้ผลกับตัวไรแต่ไม่ปลอดภัยกับตัวคน บางวิธีใช้ได้ผลดีเฉพาะในห้อง lab ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน วิธี การต่อไปนี้สามารถเลือกใช้ให้เหมาะกับแต่ละบ้าน แต่ละชนิดของเครื่องนอน โดยรวมแล้วการป้องกันไรฝุ่นปัจจุบันยังไม่มีวิธีใดเพียงวิธีเดียวที่ได้ผล ต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน

การใช้ความร้อน
- การรีดผ้า ฆ่าตัวไรได้
- การซักด้วยน้ำร้อน 60 °ซ (มือแตะได้ ไม่ลวกมือ) นาน 30 นาที
- ความร้อนสูง 140 °ซ นาน 1 ชม. ทำลายโปรตีนของสารก่อภูมิแพ้ได้ มูลไรหมดสภาพการเป็นสารกระตุ้นร่างกาย
- การตากแดด นาน 5 ชม. ยับยั้งการเจริญของไข่ไรฝุ่นได้
การใช้ความเย็น
- ไรฝุ่นเติบโตช้า ในอุณหภูมิตู้เย็น (4-10 °ซ-ช่องธรรมดา ) และตายเมื่อเก็บในช่อง freeze (-10 °ซ )
- การใช้ไนโตรเจนเหลว(-196 °ซ) ฆ่าไรฝุ่นได้ ใช้ได้ผลดีใน lab condition แต่ไม่เหมาะกับการใช้งานในชีวิตประจำวัน
การซักล้าง
- การซักผ้า จะช่วยขจัดสารก่อภูมิแพ้ได้ดี เพราะมูลไรเป็นสารละลายน้ำได้ง่าย
การคลุมด้วยวัสดุป้องกันไรฝุ่น
- วิธีการนี้เป็นการหลีกเลี่ยงเพื่อลดการสัมผัสกับไรฝุ่นและสารก่อภูมิแพ้ การใช้ ผ้ากันไรฝุ่นที่มีประสิทธิภาพ เช่น พลาสติก หรือ ผ้าทอแน่นที่มีรูห่างของผ้าเล็กกว่ามูลไร (10 ไมโครเมตร) หุ้มที่นอน/หมอน ทำให้สามารถกั้นมูลไม่ให้ฟุ้งออกจากเครื่องนอนมาสัมผัสเรา มีผลให้ลดการสูดดมลงได้ การใช้ผ้ากันไรฝุ่นไม่ได้ช่วยลดปริมาณตัวไรแต่อย่างใด
เครื่องดูดฝุ่น
- ควรใช้เครื่องที่มีถุงเก็บกัก 2 ชั้น หรือถุงอย่างหนาเพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของสารก่อภูมิแพ้
- มี HEPA filter
- ช่วยลดสารก่อภูมิแพ้ แต่ไม่ลดปริมาณไรฝุ่น ระหว่างใช้งานต้องสวมผ้าปิดจมูก
เครื่องกรองอากาศ
- มี ประโยชน์ในการดักจับสารก่อภูมิแพ้ที่ลอยในอากาศ เช่น ละอองเกสรพืช ดังนั้นจึงมีประโยชน์ ต่อผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้เกสรพืช มากกว่าผู้ที่แพ้ไรฝุ่น อย่างไรก็ดีไม่มีข้อเสียหายในการใช้ ส่วนข้อดีว่ามีประสิทธิภาพในการลดสารก่อภูมิแพ้ไรฝุ่นได้นั้นยังไม่มีรายงาน ชัดเจน
การใช้สารเคมี
- ยาฆ่าไร (acaricide) นำมาใช้งานในรูปแบต่างๆ เช่น ผงฆ่าไรในพรม (powder), foam หรือ spray สำหรับฉีด, addictive solution ผสมน้ำใช้ซักผ้า, ผ้าเคลือบสาร (impregnated cover) ด้วยสารกลุ่มไพรมิทิน
การใช้สารธรรมชาติ
- ปัจจุบัน สังคมได้ถามหาสารธรรมชาติเพื่อมาใช้ทดแทนสารเคมีกันมากขึ้น เพราะตระหนักถึงสุขภาพและความปลอดภัยในระยะยาว มีรายงานวิจัยทั้งจากต่างประเทศและประเทศไทยเกี่ยวกับการนำพืชสมุนไพรมาใช้ ในการกำจัดไรฝุ่น เช่น tannin เป็นสาร ทำลายโปรตีนสารก่อภูมิแพ้ (denaturants), น้ำมันยูคาลิปตัส, tea มักใช้ผสมน้ำสำหรับซักผ้า นอกจากนี้ยังมีการนำสารสมุนไพรมาเคลือบผ้า เช่นสารสกัดจากดอก Chrysanthemums ศูนย์บริการและวิจัยไรฝุ่นศิริราชได้คิดค้นน้ำยาสกัดสมุนไพรฆ่าไรซึ่งได้ ผลดี ฆ่าไรได้ 100% และมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ด้วย ปัจจุบันนำมาบรรจุในรูป anti-mite herbal spray

ที่มา : รศ. วรรณะ มหากิตติคุณ


*** ต้องการกำจัดไรฝุ่นภายในบ้านอย่างได้ผล กรุณาติดต่อ คุณพิเชษฐ์ pichet699@gmail.com***

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น