วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

อากาศและแหล่งกำเนิดมลพิษในอากาศ

องค์ประกอบของอากาศ
• ก๊าซไนโตรเจน 78%
• ก๊าซออกซิเจน 21%
• ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเฉื่อย 0.97%
• ไอน้ำ ฝุ่นละออง และจุลินทรีย์ต่างๆ 0.03%

สารก่อมลพิษในอากาศ
• โอโซน (O3)
• ไดออกซิน
• ฟอร์มาลดีไฮด์
• ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน

ฝุ่นละออง (SPM)
สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา U.S. EPA :United State Environmental Protection Agency
กำหนดค่ามาตรฐานฝุ่นขนาดเล็กเป็น 2 ชนิด คือ PM10 และ PM2.5
ที่มา : วารสารวิชาการ กระทรวงสาธารณสุข

อันตรายของฝุ่นละออง ที่มีต่อมนุษย์
ฝุ่นหิน แอสเบสตอสเป็นสารประกอบซิลิกา เกิดจาการขุดเจาะแร่ผลิตปูนซิเมนต์ทำให้เกิดโรค ซิลิโคซีส (Silicosis)
ที่มา : วารสารวิชาการ กระทรวงสาธารณสุข

แหล่งกำเนิดของปัญหาคุณภาพอากาศในปัจจุบัน
แหล่งกำเนิดภายนอกอาคาร เช่น ฝุ่นควันจากแหล่งต่างๆ เช่นโรงงาน, รถยนต์, รถจักรยานยนต์ เป็นต้น
แหล่งกำเนิดภายในอาคาร เช่น ควันบุหรี่, ละอองเกสร, กลิ่น, แบคทีเรีย, ไดออกซิน, ไวรัส, รังแคของสัตว์เลี้ยง, ไรฝุ่น, ฟอร์มัลดีไฮด์

แนวโน้มอัตราการใช้เวลาในแต่ละสถานที่
• ภายนอกอาคาร ประมาณ 10%
• ภายในรถ ประมาณ 5%
• ภายในสำนักงาน ประมาณ 25%
• ภายในบ้าน ประมาณ 60%
ที่มา : กรมควบคมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

อากาศภายในอาคารปนเปื้อนมากกว่าอากาศภายนอกอาคาร 2 - 5 เท่า
ที่มา : สำนักงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อมสหรัฐอเมริกา

วิธีป้องกันมลภาวะทางอากาศภายในอาคาร
• การทำความสะอาดอากาศ
• การระบายอากาศ
• การกรองอากาศ

เครื่องกรองอากาศ
• เทคโนโลยีการกรอง
• เทคโนโลยีการกำจัดกลิ่น

เทคโนโลยีการกรองอากาศ
1. การกรองแบบใช้แผ่นกรอง
2. การกรองแบบใช้ไฟฟ้าสถิต
3. การกรองแบบใช้ประจุไฟฟ้าลบ
4. การกรองแบบใช้แผ่นกรองฉาบไฟฟ้าสถิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น